ผู้สมัครงาน
Digital HRM ปี2023 ต้องทำอะไรบ้าง ? มี 9 ข้อสำคัญ มาเตรียมตัวให้พร้อมกับ HR Buddy เลยค่ะ
1 การกำหนดนโยบายการทำงานระยะไกล
สำหรับพนักงานที่ไม่ได้เข้าออฟฟิศ ต้องกำหนดเป้าหมายสุดท้ายของงาน ระยะเวลาการรายงานความคืบหน้าที่ชัดเจน สามารถติดตามตรวจสอบและวัดผลได้ เพื่อให้ผลลัพธ์การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายองค์กร
2 การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีทำงานร่วมกัน (Collaboration tools)
พนักงานทุกคนเข้าถึง HR ได้ง่ายขึ้น สามารถติดต่อสื่อสาร แจ้งข่าว ส่งข้อมูลการทำงานเข้าระบบได้ตลอดเวลา สามารถขอคำปรึกษา ขอข้อมูลระบบ หรือขอความช่วยเหลือจาก HR ได้ตลอดเวลา มีการแจ้งสถานะว่าแต่ละข้อมูลอยู่ในขั้นตอนใด เช่น รับทราบข้อมูล, อยู่ระหว่างตรวจสอบ, อยู่ระหว่างแก้ไข, งานเสร็จสมบูรณ์ หรือปฏิเสธการรับเรื่อง โดยแจ้งหมายเหตุที่ชัดเจน
3 การสื่อสารกับพนักงานต่างรูปแบบการทำงาน
เมื่อพนักงานมีรูปแบบการทำงานที่ต่างกัน เช่น ทำงานในออฟฟิศ, ทำงานนอกสถานที่, WFH เป็นต้น HR ต้องออกแบบวิธีสื่อสารให้ทุกคนได้รับข้อมูลอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็น Face to Face หรือ Remote Communication และจำเป็นต้องฝึกทักษะให้พนักงานใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันได้อย่างชำนาญ
4 การสร้างวัฒนธรรม (Culture) และการมีส่วนร่วม (Engagement) ในการทำงาน
ทั้งพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศและนอกออฟฟิศ จะต้องได้รับการสื่อสารถึงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรและพฤติกรรมการทำงานที่สร้างผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนรู้สึกเป็นคนขององค์กร มีความรับผิดชอบเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน แม้ไม่ได้ทำงานในพื้นที่เดียวกัน
5 การตรวจสอบสุขภาพจิตของ Remote Worker
HR ต้องมีแนวทางในการตรวจสอบสุขภาพจิตของ Remote worker เนื่องจากการนั่งทำงานคนเดียวที่บ้านหรือต่างสถานที่ ทำให้เกิดความเครียดและหมดไฟในการทำงานได้ง่าย HR ต้องตื่นตัวและหมั่นตรวจสอบสภาพจิตใจของพนักงาน หากมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาใด ๆ จะได้แก้ไขทันเวลา
6 สร้างหรือใช้ระบบ HRIS ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด
HR ต้องมีทักษะในการใช้ software ที่มีอยู่หรือสรรหามาใช้ เพื่อเป็นตัวรวบรวม จัดเก็บข้อมูลสำหรับใช้วิเคราะห์ เพื่อนำเสนอข้อมูลของบุคลากรผ่าน HR Dashboard ได้อย่างละเอียดแก่ผู้บริหาร เพื่อให้สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้ต่อไป
7 เรียนรู้การใช้งาน Outsourcing, Freelancer, Gig Worker
สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นคือ คนทำงานมีการเลือกอาชีพและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป องค์กรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานเช่นกัน โดยเฉพาะการปรับตัวมาใช้ Outsourcing, Freelancer, Gig Worker ในบางงาน ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเปิดตำแหน่งงานประจำขึ้นแล้วจ้างบุคลากรเข้ามาในองค์กร โดยมีระบบการประเมินคุณภาพของกลุ่มคนเหล่านั้นที่เหมาะสมกับแต่ละรูปแบบงาน เพื่อเรียกใช้ในอนาคตด้วย
8 การบริหารโครงการ (Project)
งานของ HR หลายอย่างเกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับคนในองค์กรทั้งหมด หากพบว่ามีงานใดที่เข้าข่ายดังกล่าว HR จะต้องนำงานเข้าสู่ระบบการทำงานแบบโครงการ ซึ่ง HR เป็นแม่งานร่วมกับผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ HR ต้องฝึกทักษะการทำงานโครงการให้ชำนาญ เพื่อนำโครงการสู่ความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยลดการทำงานแบบดั้งเดิมหรือ Silo ตัวใครตัวมัน แผนกใครแผนกมัน และจะทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างฝ่าย รวมตัวกันกลุ่มเล็ก ตัดสินใจรวดเร็ว ทิ้งการทำงานแบบ Hierarchy หรือแบบโครงสร้างที่ซับซ้อนล่าช้า
9 การตั้งรับสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
นอกจากต้องทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแล้ว เพื่อให้องค์กรปรับตัวได้ทันทุกสถานการณ์ HR ต้องสามารถประเมินผลกระทบจากแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ได้ต่อไปด้วย ซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
Website : www.senmentor.com
Line : wisebrown
Tel : 081-820-9271
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : crm@jobbkk.com
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด